Net Zero School (ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโรงเรียน)

โครงการ Net Zero School

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสาคัญของการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จึงได้จัดให้มีโครงการ Net Zero School โดยเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านกิจกรรมง่ายๆ ที่นักเรียนในโรงเรียนสามารถช่วยกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย

โดยคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ซึ่งมีผลทาให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ โดยเฉพาะการฝึกฝนทักษะให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล รูปแบบกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติ และฝึกฝนทักษะการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีการจัดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6

วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสาคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียน
2.2 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสานึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
2.3 เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งการสร้างแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

รูปแบบการจัดการกิจกรรม
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่ 2 การจัดการน้ำเสีย

กิจกรรมที่ 3 การประหยัดพลังงาน

กิจกรรมที่ 4 การปลูกต้นไม้และการกับเก็บคาร์บอน

กิจกรรมที่ 5 การจัดตั้งธนาคารขยะ

โดยหากโรงเรียนใดสนใจการจัดกิจกรรม Net zero school สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 441 5000 ต่อ 2225

หรือ email: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (Power Green Camp #19)

โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19

(Power Green Camp #19)

28 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2567

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. กำลังศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนในประเทศไทย
  2. สมัครเป็นรายบุคคล และสามารถอยู่ทำกิจกรรมได้ครบตลอดโครงการ

วิธีการสมัคร

  1. ถ่ายคลิป vdo ความยาวไม่เกิน 5 นาที ในหัวข้อ “คุณคิดว่า ป่าในเมืองมีความสำคัญต่อความหลากหลายของระบบนิเวศอย่างไร และในฐานะแกนนำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม คุณมีแนวคิดหรือวิธีการในการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองอย่างยั่งยืนอย่างไร?
  2. แชร์คลิปของคุณผ่าน social media ของตนเอง (ช่องทางใดก็ได้ facebook, tiktok, instragram, youtube)
    โดยติด #PowerGreenCamp19 (ตั้งค่าเป็นสาธารณะ)
  3. กรอกข้อมูลสมัครในหน้า Register ของ www.powergreencamp.com

 

ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม สู่การสร้างแรงบันดาลใจด้าน SDGs

8-10 กุมภาพันธ์  2567

ณ คณะสิ่งแวดล้อมฯ ศูนย์ลำปาง

(โครงการสำหรับเยาวชน น้องๆนักเรียน ม.ปลาย) 

 

โครงการอบรม เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและขั้นตอนการพัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์

โครงการอบรม
เรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและขั้นตอนการพัฒนางานวิจัยสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์

วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.00 -16.00น.
ณ ห้องประชุม 4228 ศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ ชั้น 2
อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดย
นางสาวณราวดี อนุสนธิ์ และ นางสาวยุพาภรณ์ รถทอง
เจ้าหน้าที่ทรัพย์สินทางปัญญา
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล

หัวข้อการอบรม
•ทำไมต้องจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร
•ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร
•ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
•ความรู้กฎหมายเบื้องต้นเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา
•ขั้นตอนการยื่นจดสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร
•ทุนในการสนับสนุนการพัฒนาผลงานวิจัยเป็นนวัตกรรม (กองทุนนวัตกรรม)
•ข้อมูลอื่นๆ / ตัวอย่างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

 

>> ลงทะเบียนอบรม << 

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการน้ำเสีย

หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการน้ำเสีย”

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ ชั้น 2 (ห้อง 4228)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านมลพิษทางน้ำ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูก และถูกตามกฎหมาย กฎระเบียบ การควบคุมมลพิษทางน้ำ

 

  1. กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสียของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้วางนโยบายและแผนด้านการจัดการน้ำเสีย หรือผู้ที่สนใจ

 

  1. ระยะเวลาและสถานที่

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ลงทะเบียน << 

 

  1. เนื้อหาหลักสูตรอบรม

5.1 สถานการณ์น้ำเสีย และผลกระทบ

5.2 กฎหมาย กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำเสีย

5.3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)

5.4 การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)

5.5 กรณีศึกษาสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ

  1. ลักษณะการอบรม

เป็นการอบรมภาคบรรยาย (ทฤษฎี) จำนวน 8 ชั่วโมง

 

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”

วันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218)

ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Google Earth Engine (31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567) 

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรม
การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(Application Google Earth Engine for Environmental and Resource)

วันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567  ( 3 วัน)

ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อบรมโดยวิทยากร อาจารย์ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย

หัวข้อการบรรยาย และปฏิบัติ
– ข้อมูลมหัต และ Google Earth Engine (GEE)
– พื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript
– การเลือกและแสดงข้อมูลจาก GEE Catalog
– การป้อนข้อมูล การนำเข้า/ส่งออกข้อมูลและชุดคำสั่ง
– การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและขั้นสูง
– พื้นฐานการสร้างเว็บแอปพลิเคชั่น

>> ลงทะเบียน << 

แถมฟรี! คอร์สอบรมพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript รูปแบบออนไลน์ 3 ชั่วโมง

สอบถามเพิ่มเติม 02 441 5000 ต่อ 2226

Green and Sustainable University

โครงการการฝึกอบรม
หลักสูตร การบริหารมหาวิทยาลัยยั่งยืน Green and Sustainable University
ระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม 2567

 

สำหรับบุคลากร วิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ

เพื่อนำไปพัฒนาวิทยาลัยชุมชน ให้เป็นวิทยาลัยที่ยั่งยืน 

 

โครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform

ขอเชิญร่วมฟังบรรยายพิเศษ และ เสวนาพิเศษ

โครงการขับเคลื่อน Climate Change and Net Zero (CN) Platform

วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤศจิกายน 2566  08.30-12.00 น.

ณ ห้องศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ (4228) ชั้น 2 อาคาร 4  คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างบรรยากาศการวิจัย ให้ความรู้เกี่ยวกับ Climate Change and Net Zeroพัฒนากลไกระบบนิเวศของการวิจัยที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตามอัตลักษณ์และศักยภาพขององค์กร
  • เพื่อสร้าง Climate Change and Net Zero (CN) Platform เชื่อมโยงนักวิจัยหลากหลายสาขาจากส่วนงานต่างๆ อย่างบูรณาการ และสร้างความร่วมมือด้านการวิจัยคุณภาพสูงร่วมกัน
  • เพื่อมุ่งให้เกิดความร่วมมือพัฒนาแผนงานวิจัยขนาดใหญ่ (Mega research project)  ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยต่อเนื่อง และมีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง

 

กลุ่มเป้าหมาย            

      นักวิจัยจากส่วนงานต่างๆ ที่สนใจพัฒนาประเด็นงานวิจัยด้าน Climate Change and Net Zero หรือ สาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ฟังฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย  >> ลงทะเบียนเข้าฟังบรรยาย << 

 

หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”

ขอเชิญอบรม

หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”

วันที่ 13-14 ธันวาคม 2566 |  08.00 – 17.00 น. 

ณ  อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ได้รับรองหลักสูตร จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/6637

>>> เอกสารประกอบการสอน <<< 

>> ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าอบรม <<

*** หากผู้สมัครชำระเงินแล้วและไม่สามารถมาเข้าร่วมอบรมได้ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินทุกกรณี***

 

กำหนดการหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
วันที่ 13-14  ธันวาคม 2566

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 13 ธันวาคม 2566

เวลา

หัวข้อ

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน และ ประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม (ห้อง 4215)
08.30-09.45 น. Course Overview and Orientation
09.45-10.45 น. บรรยาย 1: กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Laws and Regulations)
 

พักรับประทานอาหารว่าง (10.45-11.00 น.)

11.00-12.00 น. บรรยาย 2: หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity)
 

รับประทานอาหารกลางวัน (12.00-12.45 น.)

12.45 -13.45 น. บรรยาย 3: การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ
(Biorisk management)
13.45-14.45 น. บรรยาย 4: การทำลายเชื้อโรค (Decontamination and Sterilization)      
 

พักรับประทานอาหารว่าง (14.45-15.00 น.)

15.00-16.00 น. บรรยาย 5: การจัดการขยะ (Waste management)        
16.00-17.00 น. บรรยาย 6: การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation)

 

วันที่ 14  ธันวาคม 2566

เวลา

หัวข้อ

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน (ห้อง 4215)
08.30-09.30 น. บรรยาย 7: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE)
09.30-10.30 น. บรรยาย 8: การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practices)
 

รับประทานอาหารว่างในห้องอบรม

10.30-11.30 น. บรรยาย 9: อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)       
11.30-12.30 น. บรรยาย 10: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)
 

รับประทานอาหารกลางวัน (12.30-13.30 น.)

13.30-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการ 1: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) (ห้อง 4218)
ฝึกปฏิบัติการ 2: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)
ฝึกปฏิบัติการ 3: การออกแบบสถานปฏิบัติการ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ (Facility design)
 

รับประทานอาหารว่างในห้องอบรม

16.30-17.00  น. ประเมินความรู้หลังเข้ารับการอบรม (Post-Test)

** กำหนดการอาจมีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม