การตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา

โครงการฝึกอบรม หลักสูตร “การตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา”
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2567
ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ ชั้น 2 (ห้อง 4228)
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาหลักสูตร

  • การสังเกต/ประเมินคุณภาพน้ำ และประเมินความสามารถในการรองรับมลพิษแหล่งของแม่น้ำเบื้องต้น
  • สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติ ในการตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา ได้อย่างถูกต้อง

 

การอบรม:  บรรยาย  7 ชม.

สถานที่ : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายา

อัตราค่าลงทะเบียน:  1500 บาท/คน  (รวมอาหารว่างและอาหารกลางวัน)

>>  ลงทะเบียน << 

Carbon Footprint for organization

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”
วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2567

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

ลักษณะการอบรม

บรรยาย 9 ชั่วโมง ภาคปฎิบัติ work shop 3 ชั่วโมง

รวม 12 ชั่วโมง (2 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 4,000 บาท/คน

> ลงทะเบียนอบรม <<

*สมัครและชำระค่าลงทะเบียน ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567

 

Green and Sustainable University Management

โครงการการฝึกอบรม การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยสีเขียวอย่างยั่งยืน
Green and Sustainable University Management
วันที่ 5-7 มิถุนายน 2567วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการสถาบันการศึกษา ให้เป็นไปตามการประเมิน โดยตัวชี้วัดระดับสากล (UI Green Metric World University Ranking และ THE Impact Ranking) นอกจากนี้ ยังมีการจัดเก็บข้อมูล การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ในสถาบันอุดมศึกษา ให้แก่ผู้บริหาร และบุคลากรของสถาบันการศึกษา
เพื่อยกระดับสถาบันการศึกษาสู่ความยั่งยืน

ลักษณะการอบรม

อบรมภาคบรรยาย (ทฤษฎี) จำนวน 12 ชั่วโมง และ ศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยสีเขียว จำนวน 3 ชั่วโมง

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 5,000 บาท/คน

> ลงทะเบียนอบรม <<

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

หลักสูตรฝึกอบรม “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

ระหว่างวันที่ 23 – 24 พฤษภาคม 2567

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศฯ (อาคาร3)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  1. เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  2. เข้าใจกระบวนการทำงาน วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  3. เข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารเทศ (GIS RS และ GNSS)
  4. สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ QGIS เพื่อสร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านแผนที่ได้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

อัตราค่าลงทะเบียน: 3,500 บาท /คน

>>> ลงทะเบียนอบรม <<< 

การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการน้ำเสีย

หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการจัดการน้ำเสีย”

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้องประชุมศาสตรเมธี ดร.พงศ์พิศน์ ปิยะพงศ์ ชั้น 2 (ห้อง 4228)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านมลพิษทางน้ำ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูก และถูกตามกฎหมาย กฎระเบียบ การควบคุมมลพิษทางน้ำ

 

  1. กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสียของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้วางนโยบายและแผนด้านการจัดการน้ำเสีย หรือผู้ที่สนใจ

 

  1. ระยะเวลาและสถานที่

วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ลงทะเบียน << 

 

  1. เนื้อหาหลักสูตรอบรม

5.1 สถานการณ์น้ำเสีย และผลกระทบ

5.2 กฎหมาย กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำเสีย

5.3 ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)

5.4 การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)

5.5 กรณีศึกษาสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ

  1. ลักษณะการอบรม

เป็นการอบรมภาคบรรยาย (ทฤษฎี) จำนวน 8 ชั่วโมง

 

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”

วันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2567

ณ ห้องประชุมรองศาสตราจารย์ (พิเศษ) เล็ก มอญเจริญ (4218)

ชั้น 2 อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยมหิดล

 

Google Earth Engine (31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567) 

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรม
การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine เพื่องานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(Application Google Earth Engine for Environmental and Resource)

วันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2567  ( 3 วัน)

ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อบรมโดยวิทยากร อาจารย์ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย

หัวข้อการบรรยาย และปฏิบัติ
– ข้อมูลมหัต และ Google Earth Engine (GEE)
– พื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript
– การเลือกและแสดงข้อมูลจาก GEE Catalog
– การป้อนข้อมูล การนำเข้า/ส่งออกข้อมูลและชุดคำสั่ง
– การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นและขั้นสูง
– พื้นฐานการสร้างเว็บแอปพลิเคชั่น

>> ลงทะเบียน << 

แถมฟรี! คอร์สอบรมพื้นฐานการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา JavaScript รูปแบบออนไลน์ 3 ชั่วโมง

สอบถามเพิ่มเติม 02 441 5000 ต่อ 2226

Green and Sustainable University

โครงการการฝึกอบรม
หลักสูตร การบริหารมหาวิทยาลัยยั่งยืน Green and Sustainable University
ระหว่างวันที่ 9 – 11 มกราคม 2567

 

สำหรับบุคลากร วิทยาลัยชุมชนทั่วประเทศ

เพื่อนำไปพัฒนาวิทยาลัยชุมชน ให้เป็นวิทยาลัยที่ยั่งยืน 

 

หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”

ขอเชิญอบรม

หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”

วันที่ 13-14 ธันวาคม 2566 |  08.00 – 17.00 น. 

ณ  อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ได้รับรองหลักสูตร จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/6637

>>> เอกสารประกอบการสอน <<< 

>> ตรวจสอบรายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้าอบรม <<

*** หากผู้สมัครชำระเงินแล้วและไม่สามารถมาเข้าร่วมอบรมได้ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินทุกกรณี***

 

กำหนดการหลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
วันที่ 13-14  ธันวาคม 2566

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 13 ธันวาคม 2566

เวลา

หัวข้อ

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน และ ประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม (ห้อง 4215)
08.30-09.45 น. Course Overview and Orientation
09.45-10.45 น. บรรยาย 1: กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Laws and Regulations)
 

พักรับประทานอาหารว่าง (10.45-11.00 น.)

11.00-12.00 น. บรรยาย 2: หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity)
 

รับประทานอาหารกลางวัน (12.00-12.45 น.)

12.45 -13.45 น. บรรยาย 3: การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ
(Biorisk management)
13.45-14.45 น. บรรยาย 4: การทำลายเชื้อโรค (Decontamination and Sterilization)      
 

พักรับประทานอาหารว่าง (14.45-15.00 น.)

15.00-16.00 น. บรรยาย 5: การจัดการขยะ (Waste management)        
16.00-17.00 น. บรรยาย 6: การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation)

 

วันที่ 14  ธันวาคม 2566

เวลา

หัวข้อ

08.00-08.30 น. ลงทะเบียน (ห้อง 4215)
08.30-09.30 น. บรรยาย 7: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE)
09.30-10.30 น. บรรยาย 8: การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practices)
 

รับประทานอาหารว่างในห้องอบรม

10.30-11.30 น. บรรยาย 9: อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)       
11.30-12.30 น. บรรยาย 10: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)
 

รับประทานอาหารกลางวัน (12.30-13.30 น.)

13.30-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการ 1: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) (ห้อง 4218)
ฝึกปฏิบัติการ 2: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)
ฝึกปฏิบัติการ 3: การออกแบบสถานปฏิบัติการ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ (Facility design)
 

รับประทานอาหารว่างในห้องอบรม

16.30-17.00  น. ประเมินความรู้หลังเข้ารับการอบรม (Post-Test)

** กำหนดการอาจมีเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

Tik Tok Magic สร้างเนื้อหาสุดเทพ

งานสารสนเทศ ขอเชิญอบรม

Tik Tok Magic สร้างเนื้อหาสุดเทพ

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 เวลา 13.30 – 15.30 น.

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (GIS) อาคาร 3 ชั้น 3

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล