การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ ภาคการปลูกป่าและพื้นฟูป่า (T-Ver)

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ

การประเมินการกักเก็บคาร์บอนและการพัฒนาโครงการภาคการปลูกป่าและพื้นฟูป่า (T-Ver)

22-23 เมษายน 2568 
ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการสร้างระบบการประเมินการกักเก็บคาร์บอน และมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

เนื้อหาการอบรม

  • ภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า
  • การจัดทำเอกสารเพื่อยื่นขายคาร์บอนเครดิต
  • การฝึกปฏิบัติการสำรวจ การเก็บข้อมูลภาคสนาม

อัตราค่าลงทะเบียน  3,500 บาท/ท่าน

(รวมอาหารกลางวัน อาหารว่าง เอกสารประกอบการสอน)

*พิเศษ รับส่วนลด 10% สำหรับหน่วยงานลงทะเบียน 3 คนขึ้นไป

รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน

 

>> ลงทะเบียน <<

 

กำหนดการฝึกอบรม

เวลา

รายละเอียด

วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

09:00 – 09:05 น.

กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมและกล่าวเปิดโครงการฯ

โดย รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต

      คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 

09:05 – 10:30 น.

การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ (project design document, PDD)

1. การพัฒนาเอกสารข้อเสนอโครงการ

–   ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ 

–   ส่วนประกอบในข้อเสนอโครงการ

–   ระเบียบวิธีการ (Methodology)

–   การวิเคราะห์กรณีฐาน (Baseline)

วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ

            ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

10:30 – 12:00 น.

อบรมเชิงปฏิบัติการ หัวข้อ (ต่อ)

2. เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการ

–   การกำหนดขอบเขตโครงการ

–  การเลือกระเบียบวิธีการ (Methodology) ที่เหมาะสม

–  สาระสำคัญที่จะต้องระบุในเนื้อหา

–  แนวทางการเขียนข้อมูลและการแสดงหลักฐาน

–  วิธีการติดตามประเมินผล (carbon monitoring)

วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ

            ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

12:00 – 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 16:00 น.

การนำเข้าข้อมูลการสำรวจในระบบ และการคำนวณ และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

วิทยากร: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รุ่งเรือง พูลศิริ

            ภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันพุธที่ 23 เมษายน 2568

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

09:00 – 12:00 น.

บรรยายหัวข้อ

–      ภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า

–      การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (PDD, project design document)

–      การกำหนดตัวแปรที่ต้องดำเนินการในภาคสนาม (หลักการจำแนกชั้นภูมิ)

–      การสุ่มตัวอย่าง การวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ การควบคุมค่า CV

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย

            คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

12:00 – 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 16:00 น.

บรรยายหัวข้อ

–          การฝึกปฏิบัติการสำรวจ การเก็บข้อมูลภาคสนาม

–          เทคนิคการสำรวจภาคสนาม

วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย

            คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

**หมายเหตุ – กำหนดการอบรมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

สอบถามเพิ่มเติม  

0 2441-5000 ต่อ 2225   (วิลินธร) 

email: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ

หลักสูตร “การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ”

วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2568

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านมลพิษทางน้ำ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูก และถูกตามกฎหมาย กฎระเบียบ การควบคุมมลพิษทางน้ำ

 

กลุ่มเป้าหมายของโครงการ

  • ผู้ปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม ดูแล ระบบบำบัดน้ำเสียของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน รวมทั้งผู้วางนโยบายด้านด้านสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่สนใจ

 

ระยะเวลาและสถานที่

  • วันอังคารที่ 25 มีนาคม 2567 เวลา 08.30 – 16.00 น.
  • ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

วิทยากร

          ดร.ชิษนุพงศ์  ประทุม   นักวิจัย ระดับ 2

         ผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมบุคคลธรรมดา ใบอนุญาตเลขที่ 12/2566

         คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

>> เอกสารประกอบการอบรม << 

กำหนดการ

เวลาหัวข้อวิทยากร
08.00-08.30 น.ลงทะเบียน อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ชั้น 2 ห้อง 4228
คณะสิ่งแวดล้อมฯ ม.มหิดล ศาลายา
 
08.30-9.00 น.ต้อนรับผู้อบรม
ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม  
ดร. ชิษณุพงศ์ ประทุม นักวิจัย ระดับ 2   ผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมบุคคลธรรมดา ใบอนุญาตเลขที่ 12/2566 คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
9.00-10.30 น.สถานการณ์น้ำใช้ มลพิษทางน้ำ และผลกระทบ
10.30-10.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 น.กฎหมาย กฎระเบียบ ที่เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพน้ำ

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)
12.00-13.00 น.รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 น.การประเมินตัวกำหนดชี้วัดค่าของน้ำ (พารามิเตอร์คุณภาพน้ำ)
14.30-14.45 น.พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.00 น.กรณีศึกษาสำหรับการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพน้ำ

ถาม-ตอบ ประเด็นปัญหา

สรุปภาพรวมของการฝึกอบรม

โครงการค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี

โครงการค่ายวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยี

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 5

วันที่ 8-9 กุมภาพันธ์ 2568

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้สามารถนาความรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิด
    ประโยชน์
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และการทางาน
    ร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบกิจกรรม

  •  ศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติการ
  • ศึกษาดูงานเน้นการนาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

อบรมความปลอดภัยทางชีวภาพ และการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (BSL-2)

หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”

วันที่  20-21 กุมภาพันธ์ 2568 |  08.00 – 17.00 น. 

ณ  อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
  • เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
ได้รับรองหลักสูตร จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/6637

** ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตร สามารถนำไปขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมห้องปฎิบัติการ BSL-2 ได้ ** 

เนื้อหาหลักสูตรอบรม

  • กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity Laws and Regulations)
  • หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity)
  • การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk management)
  • การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practice)
  • อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE)
  • อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)
  • การทำลายเชื้อโรค (Decontamination and Sterilization)
  • การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation)
  • การจัดการขยะติดเชื้อ (Waste Management)
  • การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Management)
  • ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถานที่การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design Workshop)
  • ฝึกปฏิบัติการสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE Workshop)
  • ฝึกปฏิบัติการจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Workshop)

 

อัตราค่าลงทะเบียน

บุคลากรภายในมหิดล 3,000 บาท/ท่าน

บุคคลภายนอก 3,500 บาท/ท่าน

** การลงทะเบียนสมบูรณ์เมื่อชำระค่าลงทะเบียนแล้ว รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน **

*** หากผู้สมัครชำระเงินแล้วและไม่สามารถมาเข้าร่วมอบรมได้ ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่คืนเงินทุกกรณี ***

>>  ลงทะเบียนอบรม <<< 

*ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการประเมินความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  จะได้รับใบประกาศนียบัตร

กำหนดการหลักสูตร  < download กำหนดการ >

วันที่  20  กุมภาพันธ์ 2568  
เวลา หัวข้อ วิทยากร
08.00-08.30 น. ลงทะเบียน (ห้อง 4218)   
08.30-09.00 น. ประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม  
09.00-09.10 น. Course Overview and Orientation รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา(ประธานโครงการ)
09.10-10.15 น. บรรยาย 1: กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Laws and Regulations) ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง
10.15-10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
10.30-12.00 น. บรรยาย 2: หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity) ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง
12.00-12.45 น. รับประทานอาหารกลางวัน  
12.45 -13.45 น. บรรยาย 3: การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practices)  ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง
13.45-14.45 น. บรรยาย 4: การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ(Bio-risk management) ผศ.ดร.ภญ.ทศวรรณ จิตรวศินกุล
14.45-15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
15.00-16.00 น. บรรยาย 5: การทำลายเชื้อโรค(Decontamination and Sterilization)   ผศ.ดร.ภญ.ทศวรรณ จิตรวศินกุล
16.00-17.00 น. ฝึกปฏิบัติการ 1: การออกแบบสถานปฏิบัติการ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ (Facility design) แบ่งเป็น 4 กลุ่ม  อาจารย์ประจำกลุ่ม 4 ท่าน(ผู้ช่วย Lab2, จนท.ผึกอบรม2)
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568  
เวลา หัวข้อ วิทยากร
08.00-08.30 น. ลงทะเบียน (ห้อง 4218)  
08.30-09.30 น. บรรยาย 6: การจัดการขยะ  (Waste management)        ดร.รัชธิดา เดชอุดม
09.30-10.30 น. บรรยาย 7: การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation) ดร.รัชธิดา เดชอุดม
10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง  
10.45-11.45 น. บรรยาย 8: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี
11.45-12.45 น. บรรยาย 9: อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment) ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี
12.45 –13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน  
13.30- 14.30 น. บรรยาย 10: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล(Spill kit and management) ผศ.ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์
14.30-16.30 น. ฝึกปฏิบัติการ 2: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE)ฝึกปฏิบัติการ 3: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)ฝึกปฏิบัติการ 4: การขนส่งเชื้ออย่างปลอดภัย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดาผศ.ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์

ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี

ดร.ชิษณุพงศ์ ประทุม

(ผู้ช่วย Lab2, จนท.ผึกอบรม2)

16.30-17.00 น. รับประทานอาหารว่างประเมินความรู้หลังเข้ารับการอบรม (Post-Test) *ผู้เข้าอบรมที่ผ่านการประเมินความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด  จะได้รับใบประกาศนียบัตร

โครงการค่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

โครงการค่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
วันที่ 23 และ 24 พฤศจิกายน 2567

สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้สามารถนาความรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิด
    ประโยชน์
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และการทางาน
    ร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบกิจกรรม

  •  ศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติการ
  • ศึกษาดูงานเน้นการนาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

Net Zero School (ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโรงเรียน)

โครงการ Net Zero School

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล็งเห็นความสาคัญของการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์ จึงได้จัดให้มีโครงการ Net Zero School โดยเน้นการสร้างความรู้ความเข้าใจผ่านกิจกรรมง่ายๆ ที่นักเรียนในโรงเรียนสามารถช่วยกันปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) หรือการไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเลย

โดยคำนึงถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ซึ่งมีผลทาให้เกิดภาวะโลกร้อนได้ โดยเฉพาะการฝึกฝนทักษะให้นักเรียนได้รู้จักคิดวิเคราะห์หาเหตุผล รูปแบบกิจกรรมจะเน้นการปฏิบัติ และฝึกฝนทักษะการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ให้มีการจัดกิจกรรมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในทุกระดับชั้น ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6

วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงความสาคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในโรงเรียน
2.2 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตสานึกในการร่วมกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
2.3 เพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาโรงเรียนของตนเองผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย รวมทั้งการสร้างแกนนำในการร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน

รูปแบบการจัดการกิจกรรม
แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ทำกิจกรรม ได้แก่

กิจกรรมที่ 1 การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

กิจกรรมที่ 2 การจัดการน้ำเสีย

กิจกรรมที่ 3 การประหยัดพลังงาน

กิจกรรมที่ 4 การปลูกต้นไม้และการกับเก็บคาร์บอน

กิจกรรมที่ 5 การจัดตั้งธนาคารขยะ

โดยหากโรงเรียนใดสนใจการจัดกิจกรรม Net zero school สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 02 441 5000 ต่อ 2225

หรือ email: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19 (Power Green Camp #19)

โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 19

(Power Green Camp #19)

28 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2567

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. กำลังศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนในประเทศไทย
  2. สมัครเป็นรายบุคคล และสามารถอยู่ทำกิจกรรมได้ครบตลอดโครงการ

วิธีการสมัคร

  1. ถ่ายคลิป vdo ความยาวไม่เกิน 5 นาที ในหัวข้อ “คุณคิดว่า ป่าในเมืองมีความสำคัญต่อความหลากหลายของระบบนิเวศอย่างไร และในฐานะแกนนำเยาวชนด้านสิ่งแวดล้อม คุณมีแนวคิดหรือวิธีการในการขับเคลื่อนการจัดการพื้นที่สีเขียวให้กับเมืองอย่างยั่งยืนอย่างไร?
  2. แชร์คลิปของคุณผ่าน social media ของตนเอง (ช่องทางใดก็ได้ facebook, tiktok, instragram, youtube)
    โดยติด #PowerGreenCamp19 (ตั้งค่าเป็นสาธารณะ)
  3. กรอกข้อมูลสมัครในหน้า Register ของ www.powergreencamp.com

 

ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

โครงการค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม สู่การสร้างแรงบันดาลใจด้าน SDGs

8-10 กุมภาพันธ์  2567

ณ คณะสิ่งแวดล้อมฯ ศูนย์ลำปาง

(โครงการสำหรับเยาวชน น้องๆนักเรียน ม.ปลาย) 

 

ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม

ค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

เรียนรู้การดูแลสิ่งแวดล้อม เพื่อโลกที่ดีขึ้น ไปด้วยกัน กับค่ายเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม (โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี)

2-4 พฤศจิกายน 2566

ณ เพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์

 

Power Green Camp #18

โครงการค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม รุ่นที่ 18

(Power Green Camp รุ่นที่ 18)

    Waste Warriors ภารกิจพิทักษ์โลก: Green Cloud – Green Tech – Green Influencer

15 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.กิติกร จามรดุสิต คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 18 ภายใต้หัวข้อ “Waste Warriors – ภารกิจพิทักษ์โลก – Green Cloud – Green Tech – Green Influencers”

พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กฤตณะ พฤกษากร ประธานค่ายฯ และ คุณรัฐพล สุคันธี ผู้อำนวยการสายอาวุโส-สื่อสารองค์กร บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

กล่าวชี้แจงวัตถุประสงค์และกล่าวต้อนรับเยาวชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ ซึ่งประกอบไปด้วยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากโรงเรียนของรัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 50 คน จากโรงเรียนทั่วประเทศ

ค่ายเยาวชนวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Power Green Camp) ครั้งที่ 18 จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่าง คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)

มุ่งส่งเสริมเยาวชนนำองค์ความรู้ไปประยุกต์แก้ปัญหาทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน สังคม และประเทศชาติ ซึ่งจะเป็นรากฐานนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนในอนาคต โดยมอบประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในประเด็นต่างๆ

เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะ (Waste Management) ทั้งภาคทฤษฎีผ่านกิจกรรมการบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ การเข้าใจวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Waste Management)

การฝึกใช้ระบบภูมิสารสนเทศ (Geographic Information System : GIS) เพื่อการประยุกต์ใช้งานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการฝึกสร้าง Content

เรียนรู้เทคนิคและประสบการณ์ตรงจากคนดังในแวดวงโซเชียลมีเดีย สู่การเป็น Green Influencer รวมถึงการทัศนศึกษาในพื้นที่จริง

เช่น กิจกรรมลงเรือเก็บและคัดแยกขยะในชุมชนคลองลาดพร้าว ณ มูลนิธิเทอร์ราไซเคิล กิจกรรมเยี่ยมชมการจัดการขยะรีไซเคิลและกระบวนการผลิตผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับ Food Grade ณ บริษัทชั้นนำในจังหวัดระยอง ก่อนที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาพัฒนาต่อยอดเพื่อนำเสนอโครงงานกลุ่มวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโดยมีอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้คำแนะนำ ระหว่างวันที่ 15-21 ตุลาคม 2566

เพิ่มเติมที่ >>> https://www.powergreencamp.com/