โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI เพื่อเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนขององค์กร

โครงการอบรมเชิงปฎิบัติการ หลักสูตร

การปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI เพื่อเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนขององค์กร

Compliance with GRI Sustainability Reporting Standards for Corporates Sustainability Discloser

วันที่ 17-19 ธันวาคม 2567

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ โครงสร้าง แนวคิดหลัก และกระบวนการจัดทำรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI

     2. ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการกำหนดประเด็นสำคัญสำหรับการรายงานความยั่งยืนขององค์กร

     3. ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI เพื่อการจัดทำรายงานและเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนขององค์กร

วิทยากร

  • นายโอภาส จารุรัตน์   Lead Verifier การรับรองรายงาน การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG inventory)/การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability Report)
  • นางสาวสิริรัตน์ รัตนพาณิชย์  Lead CFO verifier, CFO, CFP Consultant, Sustainability Consultant, and related scheme

 

การอบรมภาคบรรยาย (ทฤษฎี) และการฝึกปฏิบัติ (ภาคปฏิบัติการ) รวมจำนวน 18 ชั่วโมง โดยผู้เข้าอบรมต้องมีเวลาเข้าร่วมการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาการอบรมตลอดหลักสูตรและจะได้รับเอกสารรับรองการอบรม (certificate) จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อัตราค่าลงทะเบียน 15,000 บาท/คน

*** พิเศษ สำหรับองค์กรที่สมัคร 2คน ขึ้นไป รับส่วนลด 10 % เหลือเพียงท่านละ 13,500 บาท***

สมัครด่วน รับเพียง 18 ท่าน/ โครงการ  เพื่อความเข้มข้นในการลงมือปฎิบัติการเขียนรายงานที่ใช้ได้จริง

>>> สมัครเลย <<<

 

กำหนดการ

วัน-เวลา

กิจกรรม

วิทยากร

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2567

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ห้อง 4218 (อาคาร 4 ชั้น 2)

09:00 –  09.10 น.

พิธีเปิด – กล่าวต้อนรับ

 

09:10 – 10:30 น.

Section 1 : Lecture

  • บทนำว่าด้วยความยั่งยืน วัตถุประสงค์และเป้าหมายของมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI
  • ความคาดหวังของผู้เข้าอบรม

คุณโอภาส จารุรัตน์

10:30 -10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

10:45 – 12:00 น.

Section 2 : Lecture

  • แนวคิดหลัก (Key concepts)
  • ศัพท์บัญญัติ (Terminologies)
  • หลักการสำคัญ (Reporting principle) ของมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนของ GRI
  • กระบวนการจัดทำและเปิดเผยรายงานความยั่งยืนตามมาตรฐาน GRI (Reporting in accordance with the GRI Standards)

คุณโอภาส จารุรัตน์

12:00 – 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

 

13:00 – 14:30 น.

Section 3 : Lecture

  • โครงสร้าง the GRI standards;
  • GRI 1: Foundation 2021;  GRI 2: General Disclosers  2021, GRI 3: Material Topics  2021,  GRI Sector Standards และ GRI Topic Standards
  • การประเมินเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญ (Materiality assessment: GRI 3)

คุณโอภาส จารุรัตน์

14:30 – 14:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

 

14:45 –  16:00 น

Section 4 : Workshop 

  • กระบวนการประเมินเพื่อกำหนดประเด็นสำคัญ (Materiality assessment process: GRI 3)
  • การกำหนดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Determine Stakeholders)
  • กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  (Stakeholder engagements)
  • การจัดลำดับประเด็นสำคัญ (Prioritize material topics)

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

วันพุธที่ 18 ธันวาคม 2567

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ห้อง 4218

09:00 –  10.30 น.

Section 5 : Lecture

  • GRI 3-3 การจัดการและการเปิดเผยรายประเด็น (Topic management disclosure)

คุณโอภาส จารุรัตน์

10:30 -10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

 

10:45 – 12:00 น.

Section 6 : Lecture

  • GRI 2 : General discloser และ Organization profiles
  • GRI 1 : การรายงานและการไม่รายงาน เกณฑ์และการรับรองรายงานความยั่งยืน (Omission , Criteria, and Assurance)

คุณโอภาส จารุรัตน์

12:00 – 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

 

13:00 – 14:30 น.

Section 7 : Workshop

  • รายงานความยั่งยืนรายภาคส่วนและข้อกำหนด (GRI sector as additional requirement)

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

14:30 – 14:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

 

14:45 –  16:00

Section 8 : Lecture

  • การเตรียมดัชนีเนื้อหา GRI (Prepare GRI content index) และการเชื่อมโยงเพื่อปรับมาตรฐาน GRI ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดมาตรฐานการรายงานอื่น ๆ (Aligning sustainability reporting with other reporting standard) เช่น SDGs และ  แบบ 56-1 one report
  • การเตรียมคำชี้แจงการใช้งานรายงานความยั่งยืน (Prepare statement of use)
  • การเปิดเผยรายงานความยั่งยืนและดัชนีเนื้อ
  • การแจ้งการใช้มาตรฐานฯ ต่อองค์กร GRI

 

 

คุณโอภาส จารุรัตน์

 

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม 2567

08:30 – 09:00 น.

ลงทะเบียน

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ห้อง 4218

09:00 –  10.30 น.

Section 9: Workshop

  • การเขียนรายงานความยั่งยืนรายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม: GRI 305:  Emission

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

10:30 -10:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

 

10:45 – 12:00 น.

Section 10: Workshop

  • การเขียนรายงานความยั่งยืนรายประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (300 Environmental topics): GRI 303:  Water and Effluents หรือ GRI 306:  Waste หรือ GRI 304:  Biodiversity

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

12:00 – 13:00 น.

รับประทานอาหารกลางวัน

 

13:00 – 14:30 น.

Section 11: Workshop

  • การเขียนรายงานความยั่งยืนรายประเด็นด้านสังคม 400 (Social topics) GRI 403:  Occupational Health and Safety หรือ GRI 401:  Employment

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

14:30 – 14:45 น.

พักรับประทานอาหารว่าง

 

14:45 –  16:00

Section 12: Workshop

  • การเขียนรายงานความยั่งยืนรายประเด็นด้านเศรษฐกิจ 200 (Economic topics) GRI 201: Economic Performance หรือ GRI 205: Anti-corruption

คุณโอภาส จารุรัตน์
คุณสิริรัตน์ รัตนะพานิชย์

โครงการค่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล

โครงการค่ายเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
วันที่ 23 และ 24 พฤศจิกายน 2567

สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีอย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้สามารถนาความรู้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิด
    ประโยชน์
  • เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และการทางาน
    ร่วมกันเป็นทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

รูปแบบกิจกรรม

  •  ศึกษาเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติการ
  • ศึกษาดูงานเน้นการนาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ประโยชน์และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

อบรมคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 2567 (CFO)

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 

“พื้นฐานการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1”

ระหว่างวันที่ 4 – 5 กันยายน 2567

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และมาตรฐาน ISO 14064-1

 

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตลอดจนได้รับหลักการสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร ตามแนวทางการประเมินปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และมาตรฐาน ISO 14064-1

 

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 4,000 บาท (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)

>> ลงทะเบียนอบรม <<

** Download เอกสารประกอบการอบรม   (ผู้ประสานงานจะส่งรหัสผ่าน ให้ผู้ลงทะเบียนทาง e-mail) 

** Download กำหนดการอบรม

CFO_sch_2024

ผู้ประสานงานโครงการอบรม

น.ส. วิลินธร ชูโต (เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม) 

โทร 0 2441 5000 ต่อ 2225, มือถือ 0961566999

อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการคำนวนการกักเก็บคาร์บอน ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า”

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

“การประเมินการกักเก็บคาร์บอน และการพัฒนาโครงการ T-VER  ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า”

 ระหว่างวันที่ 27-28 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น. (จำนวน 2 วัน)

ณ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

 

     หัวข้อการบรรยายและฝึกปฏิบัติ

  • ภาพรวมของโครงการ T-VER ภาคการปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า
  • การพัฒนาข้อเสนอโครงการ (project design document, PDD)
  • การกำหนดตัวแปรที่ต้องดำเนินการในภาคสนาม
  • การสุ่มตัวอย่าง การวัดการเจริญเติบโตของต้นไม้ การควบคุมค่า CV
  • การฝึกปฏิบัติการสำรวจ การเก็บข้อมูลภาคสนาม เทคนิคการสำรวจภาคสนาม
  • การนำเข้าข้อมูลการสำรวจในระบบ และการคำนวณ และการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

ค่าลงทะเบียน – ท่านละ 3,000 บาท (รวมอาหารว่าง และอาหารกลางวัน)

>> ลงทะเบียนอบรม  <<<    

Download กำหนดการอบรม

สอบถามเพิ่มเติม 

สำนักงานวิทยบริการด้านสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โทร 0 2441 5000 ต่อ 2225 อีเมล: vilinthorn.xut@mahidol.ac.th

Tver_2024

Application Google Earth Engine for Office of The Cane and Sugar Board

โครงการอบรมหลักสูตร การประยุกต์ใช้ Google Earth Engine
ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

(Application Google Earth Engine for Office of The Cane and Sugar Board)

วันที่ 16 – 17 กรกฎาคม 2567

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้บุคลากรเข้าใจขั้นตอนพื้นฐานการใช้งานโปรแกรม Google Earth Engine
  2. เพื่อให้บุคลากรสามารถประยุกต์ใช้งานโปรแกรม Google Earth Engine เพื่องานสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้
  3. เพื่อให้บุคลากรได้พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีการและการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ
    และภูมิสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

วิทยากร

อาจารย์ ดร.พิสุทธิ นาคหมื่นไวย อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการสำหรับบุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล

Biosafety and Biosecurity อบรมความปลอดภัยทางชีวภาพฯ

โครงการอบรมความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

Biosafety and Biosecurity

1-2 สิงหาคม 2567

อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ

ค่าลงทะเบียน

บุคลากรภายใน มหาวิทยาลัยมหิดล 3,000 บาท

บุคคลทั่วไป 3,500 บาท

> ลงทะเบียน <<

รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน

หลักสูตรนี้ได้รับรองหลักสูตรจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/2102

ท่านที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ จะได้รับใบประกาศนียบัตรจากหลักสูตร

>> กำหนดการ โครงการอบรม <<

กำหนดการ_1สิงหาคม2567

การตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา

โครงการฝึกอบรม หลักสูตร “การตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา”
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน 2567
อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล ชั้น 2  ห้อง 4228
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

เนื้อหาหลักสูตร

  • การสังเกต/ประเมินคุณภาพน้ำ และประเมินความสามารถในการรองรับมลพิษแหล่งของแม่น้ำเบื้องต้น
  • สามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติ ในการตรวจติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางน้ำในแม่น้ำ และลำคลองสาขา ได้อย่างถูกต้อง

ลักษณะการอบรม:  บรรยาย  7 ชม.

สถานที่ : คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล  ศาลายา

อัตราค่าลงทะเบียน:  1500 บาท/คน  (รวมอาหารว่างและอาหารกลางวัน)

ลงทะเบียน << 

 

วิทยากร :  ดร. ชิษณุพงศ์ ประทุม

ผู้จัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมบุคคลธรรมดา ใบอนุญาตเลขที่ 12/2566

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

หลักสูตรฝึกอบรม “ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานด้วยโปรแกรม QGIS

ระหว่างวันที่ 27-28 มิถุนายน 2567

ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ GIS อาคารสารสนเทศฯ (อาคาร3)

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สิ่งที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับ

  1. เข้าใจหลักการพื้นฐานของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  2. เข้าใจกระบวนการทำงาน วิธีการ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
  3. เข้าใจความสัมพันธ์และความเชื่อมโยง ตลอดจนประโยชน์ของเทคโนโลยีภูมิสารเทศ (GIS RS และ GNSS)
  4. สามารถใช้งานโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ QGIS เพื่อสร้าง ปรับปรุง แก้ไข จัดการ วิเคราะห์ และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ผ่านแผนที่ได้

คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม: สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐานได้ดี

อัตราค่าลงทะเบียน: 3,500 บาท /คน

>>> ลงทะเบียนอบรม <<< 

Carbon Footprint for organization

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร”
วันที่ 16-17 พฤษภาคม 2567

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจก นโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission)
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับหลักการพื้นฐานสำหรับการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร

ลักษณะการอบรม

บรรยาย 9 ชั่วโมง ภาคปฎิบัติ work shop 3 ชั่วโมง

รวม 12 ชั่วโมง (2 วัน)

ค่าลงทะเบียน

ท่านละ 4,000 บาท/คน

> ลงทะเบียนอบรม <<

*สมัครและชำระค่าลงทะเบียน ได้ตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2567

 

International Conference (ENRIC 2024)

The 5th Environment and Natural Resources International Conference

We extend a warm invitation to join us at ENRIC 2024: “Net Zero Now: Action for a Sustainable World” – a global convergence of pioneers, innovators, and catalysts dedicated to shaping a sustainable, carbon-neutral world. In an era marked by environmental urgency, this conference stands as a beacon of promise, offering a platform for knowledge exchange, collaboration, and resolute action.

Conference dates: 14 – 15 Nov 2024

Submitted conference papers will be reviewed by the technical committee of the Conference. Moreover, the best papers from ENRIC 2024 will be encouraged to be submitted to the peer review process of the Environment and Natural Resource Journal (ENNRJ).

Register <<