หลักสูตร “ความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ”
วันที่ 20-21 กุมภาพันธ์ 2568 | 08.00 – 17.00 น.
ณ อาคารสิ่งแวดล้อมพัฒนดล คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กฎหมายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
- เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยสอดคล้องตามกฎหมายและมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ
ได้รับรองหลักสูตร จาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เลขที่ทะเบียน สธ 0621.06/6637
** ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับใบประกาศนียบัตร สามารถนำไปขึ้นทะเบียนผู้ควบคุมห้องปฎิบัติการ BSL-2 ได้ **
เนื้อหาหลักสูตรอบรม
- กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety and Biosecurity Laws and Regulations)
- หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity)
- การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ (Biorisk management)
- การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practice)
- อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE)
- อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment)
- การทำลายเชื้อโรค (Decontamination and Sterilization)
- การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation)
- การจัดการขยะติดเชื้อ (Waste Management)
- การจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Management)
- ฝึกปฏิบัติการออกแบบสถานที่การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ในสถานปฏิบัติการ (Facility design Workshop)
- ฝึกปฏิบัติการสวมใส่และการถอดอุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (Personal protective equipment: PPE Workshop)
- ฝึกปฏิบัติการจัดการสารชีวภาพรั่วไหล (Biological Spill Workshop)
อัตราค่าลงทะเบียน
บุคลากรภายในมหิดล 3,000 บาท/ท่าน
บุคคลภายนอก 3,500 บาท/ท่าน
** การลงทะเบียนสมบูรณ์เมื่อชำระค่าลงทะเบียนแล้ว รับจำนวนจำกัด 50 ท่าน **
>> ลงทะเบียนอบรม <<<
กำหนดการหลักสูตร
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 | ||
เวลา | หัวข้อ | วิทยากร |
08.00-08.30 น. | ลงทะเบียน (ห้อง 4218) | |
08.30-09.00 น. | ประเมินความรู้ก่อนเข้ารับการอบรม | |
09.00-09.10 น. | Course Overview and Orientation | รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา(ประธานโครงการ) |
09.10-10.15 น. | บรรยาย 1: กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Laws and Regulations) | ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง |
10.15-10.30 น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
10.30-12.00 น. | บรรยาย 2: หลักการด้านความปลอดภัยทางชีวภาพและการรักษาความปลอดภัยทางชีวภาพ (Principle of Biosafety and Biosecurity) | ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง |
12.00-12.45 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
12.45 -13.45 น. | บรรยาย 3: การปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Practices) | ผศ.ดร.อดิศักดิ์ ร่มแสง |
13.45-14.45 น. | บรรยาย 4: การจัดการความเสี่ยงทางชีวภาพ(Bio-risk management) | ผศ.ดร.ภญ.ทศวรรณ จิตรวศินกุล |
14.45-15.00 น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
15.00-16.00 น. | บรรยาย 5: การทำลายเชื้อโรค(Decontamination and Sterilization) | ผศ.ดร.ภญ.ทศวรรณ จิตรวศินกุล |
16.00-17.00 น. | ฝึกปฏิบัติการ 1: การออกแบบสถานปฏิบัติการ การจัดวางเครื่องมือและอุปกรณ์ (Facility design) | แบ่งเป็น 4 กลุ่ม อาจารย์ประจำกลุ่ม 4 ท่าน(ผู้ช่วย Lab2, จนท.ผึกอบรม2) |
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 | ||
เวลา | หัวข้อ | วิทยากร |
08.00-08.30 น. | ลงทะเบียน (ห้อง 4218) | |
08.30-09.30 น. | บรรยาย 6: การจัดการขยะ (Waste management) | ดร.รัชธิดา เดชอุดม |
09.30-10.30 น. | บรรยาย 7: การขนส่งเชื้อโรค (Pathogen Transportation) | ดร.รัชธิดา เดชอุดม |
10.30-10.45 น. | พักรับประทานอาหารว่าง | |
10.45-11.45 น. | บรรยาย 8: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE) | ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี |
11.45-12.45 น. | บรรยาย 9: อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย (Safety equipment) | ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี |
12.45 –13.30 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.30- 14.30 น. | บรรยาย 10: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล(Spill kit and management) | ผศ.ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์ |
14.30-16.30 น. | ฝึกปฏิบัติการ 2: อุปกรณ์ปกป้องส่วนบุคคล (PPE)ฝึกปฏิบัติการ 3: การจัดการกรณีเกิดเหตุสารชีวภาพรั่วไหล (Spill kit and management)
ฝึกปฏิบัติการ 4: การขนส่งเชื้ออย่างปลอดภัย |
แบ่งเป็น 4 กลุ่ม รศ.ดร.สุรีย์วัลย์ สิทธิจันดา
ผศ.ดร.ปรียาพร เกิดฤทธิ์ ดร.จักรพล พันธุวงศ์ภักดี ดร.ชิษณุพงศ์ ประทุม (ผู้ช่วย Lab2, จนท.ผึกอบรม2) |
16.30-17.00 น. | รับประทานอาหารว่างประเมินความรู้หลังเข้ารับการอบรม (Post-Test) |