การสร้างสังคมจักรยานและการเดินเท้า : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
Keywords:
สังคมจักรยาน, การเดินเท้า, ความยั่งยืน, มหาวิทยาลัยสีเขียวAbstract
งานวิจัยการสร้างสังคมจักรยานและการเดินเท้า : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานการสร้างสังคมจักรยานและการเดินเท้า กรณีศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งมีความมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันและสนับสนุนการสร้างสังคมการใช้จักรยานและการเดินเท้าในการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยและชุมชนรอบข้าง โดยเริ่มสนับสนุนสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การจัดทำแผนผัง และ Master Plan ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 เพื่อรองรับการใช้จักรยานและการเดินเท้าภายใน มจธ. และได้ประกาศนโยบายในการสร้างสังคมการใช้จักรยานและการเดินเท้า ในปี พ.ศ.2555 และได้จัดสร้างอาคาร Green Society เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้จักรยานและศูนย์กิจกรรมที่สนับสนุนการสร้างการรับรู้/ส่งเสริมให้เกิดการนำระบบไปสู่การปฏิบัติในหมู่นักศึกษา พร้อมเป็นศูนย์กลางของระบบ Bike Share System รวมถึงเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงซ่อมแซมจักรยานแบบครบวงจร และเป็นศูนย์กิจกรรมที่นักศึกษาเป็นผู้นำกิจกรรมมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสังคมจักรยานและการเดินเท้าต่างๆ จากผลการดำเนินการในปี 2559 พบว่า มีการจัดกิจกรรม จำนวน 137 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 36,260 คน จากผลการจัดกิจกรรม ช่วยลดปริมาณคาร์บอนได้ 10.43 ล้าน kg CO2 และ ประหยัดน้ำมันได้ 3.56 ล้านลิตร รวมทั้งยังมีการร่วมมือกับภาคเอกชน มจธ. ในการพัฒนาระบบ Recycle to Cycle โดยสนับสนุนกิจกรรมการนำขวดน้ำดื่มและกระป๋องเครื่องดื่ม มาแลกคะแนนสะสมเพื่อใช้ในการยืมจักรยาน ทั้งนี้มจธ. มุ่งหวังที่จะให้เกิดเป็นระบบต้นแบบของการสร้างสังคมจักรยานแบบมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน สนับสนุนการสร้างนักศึกษาเพื่อให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล