การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
Keywords:
ความผูกพันต่อองค์การ, บุคลากร, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวAbstract
การสำรวจความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมี วัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร 2. ศึกษาปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากร 3. ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน และ 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 92 คน การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างทำโดย ใช้สูตรของยามาเน่ (Yamane) ระดับความเชื่อมั่น 95% และค่าความคลาดเคลื่อน 5 % สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ส่วนที่ 1 สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอ้างอิงชั้นสูง ได้แก่ การทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรกับความผูกพันต่อองค์การ พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อายุงาน ประเภทของบุคลากร ระดับเงินเดือน ตำแหน่งบริหาร และสังกัดงาน ที่แตกต่างกันจะมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และจากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การกับปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงานทุกด้าน พบว่ามีความสัมพันธ์เชิงเส้นในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล