ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่มารับบริการคลินิกดูแลและบรรเทาอาการ

Authors

  • สุมนทิพย์ นาควิจิตร ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • กิติพล นาควิโรจน์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • พรพิมล โอเจริญ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • ศศิปรียากานต์ มิ่งวงศ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล Author

Keywords:

ภาวะโภชนาการเบื้องต้น, ปัจจัยที่เกี่ยวข้องภาวะทุพโภชนาการ, บรรเทาอาการคลินิกดูแล

Abstract

การศึกษาภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารของผู้ป่วยที่มารับบริการคลินิกดูแลและบรรเทาอาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินภาวะโภชนาการเบื้องต้นและ ศึกษาหาปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการและการบริโภคอาหารของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยทั้งชายและหญิงที่มารับบริการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกคลินิกดูแลและบรรเทาอาการจำนวน 103 รายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบฟอร์มซักประวัติทั่วไป แบบประเมิน Subjective global assessment (SGA) ร่วมด้วยประวัติการรับประทานอาหารใน 24 ชั่วโมง การคำนวณหาระดับของ body mass index (BMI) และทำแบบบันทึกการเปลี่ยนแปลงอาการของผู้ป่วยจาก Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) วิเคราะห์ด้วยสถิติสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ ความสัมพันธ์ระหว่างตวัแปรเชิงกลุ่ม และการเปรียบเทียบค่าแฉลี่ยของการศึกษาภาวะโภชนาการกับปัจจัยต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า จำนวนผู้ป่วย 103 ราย ข้อมูลทั่วไปจำนวนเพศชายและหญิงร้อยละ 50.5 และร้อยละ 49.5 ตามลำดับ อายุเฉลี่ย 51-60 ปี ร้อยละ 30.1 สถานะภาพคู่ร้อยละ 66 สิทธิ์การรักษา ข้าราชการร้อยละ 48.5 อาชีพแม่บ้านหรือว่างงานร้อยละ23 ระดับการศึกษาประถมร้อยละ36.9 ข้อมูลการเจ็บป่วยตำแหน่งร่างกายที่ป่วยเป็นมะเร็งปอดร้อยละ 32 กระเพาะอาหารลำไส้และทวารหนักจำนวนร้อยละ15.5 มะเร็งตับ ร้อยละ6.8 ข้อมูลด้านโภชนาการ ผู้ป่วยมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 38.8 น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 31.1 การซักประวัติทางโภชนาการ พลังงานอาหารโดยเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับในกลุ่มภาวะโภชนาการปกติ เสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการและภาวะทุพโภชนาการมีค่า968.27 990.88 และ737.44 กิโลแคลอรี่ ตามลำดับ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ( SGA B) ร้อยละ 48 สำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการมีการบริโภคอาหารและปริมาณไขมันที่น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะทุพโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤0.05) ตลอดจนรวมถึงปัจจัยข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ท้องบวม ขาบวมหรือภาวะเบื่ออาหาร มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะทุพโภชนาการ

Downloads

Published

2024-04-01