รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 ผ่านระบบออนไลน์

Authors

  • พงษ์สยาม มาสุข รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 Author

Keywords:

การพัฒนา, ทักษะด้านดิจิทัล, ระบบออนไลน์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 2 จำนวน 325 คน และการตรวจสอบรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการ รูปแบบ คู่มือการดำเนินตามรูปแบบ และ แบบสอบถามความเหมาะสมและความเป็นไปได้ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้งานเพื่อความมั่นคง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ส่วนการทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินการของรูปแบบ 4) การประเมินผลรูปแบบ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ทักษะด้านดิจิทัล 10 ด้าน ได้แก่ 1) การใช้งานคอมพิวเตอร์ 2) การใช้งานอินเตอร์เน็ต 3) การใช้งานเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 4) การใช้โปรแกรมประมวลผลคำ 5 ) การใช้โปรแกรมตารางคำนวณ 6) การใช้โปรแกรมการนำเสนองาน 7) การใช้โปรแกรมสร้างสื่อดิจิทัล 8) การทำงานร่วมกันแบบออนไลน์ 9) การใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย 10) การเข้าใจนโยบาย กฎหมายและมาตรฐาน และวิธีการพัฒนา มี 4 วิธี ได้แก่ 1) บทเรียนออนไลน์ 2) บทเรียนสำเร็จรูป 3) Google Classroom 4) เสิร์ชเอ็นจิ้น  ผลการประเมินความเหมาะสมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Published

2024-03-01