วิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันทางการศึกษา กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • สมปรารถนา นามขาน งานบริหารงานทั่วไป สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล Author

Keywords:

ห้องประชุม, การให้บริการ, ต้นทุนและประสิทธิผล

Abstract

การให้บริการห้องประชุมแก่บุคคลภายนอกของสถานศึกษา เป็นการบริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์ คุ้มค่าและสร้างรายได้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการควบคุมต้นทุนและรายรับให้อยู่ในภาวะสมดุล และไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงิน ดังนั้น การศึกษานี้จึงมี เป้าหมายในการวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลในการให้บริการห้องประชุมของสถาบันการศึกษา กรณีศึกษาของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อนำไปสู่แนวทางการบริหารสินทรัพย์และการพัฒนาการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยทฤษฎีการวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (Cost-effectiveness Analysis: CEA) และข้อมูลปฐมภูมิด้านค่าใช้จ่าย และการดำเนินการให้บริการห้องประชุมรายวันในรอบปี พ.ศ.2557 ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นตามขนาดของห้องประชุม โดยห้องประชุมขนาดใหญ่มีภาระรายจ่ายค่า สาธารณูปโภค น้ำและไฟฟ้า สูงกว่าห้องประชุมขนาดเล็ก ค่าเสื่อมครุภัณฑ์เป็นต้นทุนทางตรงที่ถีอเป็นภาระรายจ่ายที่สำคัญที่สุดของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม ตามด้วยค่าเสื่อมอาคาร อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาต้นทุนค่าเสียโอกาสของบุคลากรพบว่า ต้นทุนแท้จริงที่สถาบันวิจัยประชากรและสังคมต้องแบกรับสูงขึ้นประมาณ 1.8-4.2 เท่าของต้นทุนทางตรง ผลการเปรียบเทียบอัตราค่าบำรุงและต้นทุนในภาพรวมพบว่า สถาบันวิจัยประชากรและสังคมดำเนินการให้บริการอยู่บนจุดคุ้มทุน มีอัตรากำไรใกล้เคียงกับศูนย์ในภาพรวม ซึ่งการลดค่าใช้จ่ายส่วนครุภัณฑ์ ควบคู่ไปกับการจัดสรรการใช้บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสทิธภิาพจะช่วยให้หน่วยงานลดภาระค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนได้อย่างชัดเจน

Downloads

Published

2024-04-01