ระยะเวลาที่มีผลต่อความคงตัวของสารเรืองแสงในการย้อมเซลล์ที่ถูกตรึง เพื่อวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Flow Cytometry

Authors

  • สิรภพ วงษ์เนียม หน่วยเครื่องมือกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร 10400 Author

Keywords:

Flow Cytometry, FACS, Fluorochrome, Fixative Cells

Abstract

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้งานบริการตรวจวิเคราะห์เซลล์ด้วยเทคนิค flow cytometry ประสบความสำเร็จคือ ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อสภาพความคงตัว (stability) ของสารเรืองแสงที่ใช้เพื่อให้ทราบถึงผลของปัจจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้ตรวจนับจำนวนเซลล์และปริมาณความเข้มจากการคายแสงของสารฟลูออเรสเซนต์ของเซลล์ที่ถูกตรึง และย้อมด้วย propidium iodide (PI) และแอนติบอดี (antibody) ที่จำเพาะกับเซลล์ที่ติดฉลากด้วย fluorescein isothiocyanate (FITC), phycoerythrin (PE) และ PE-Cy7 งานวิจัยได้แบ่งการทดลองเป็น 2 กลุ่มคือ เซลล์ เนื้อเยื่อสัตว์ (เซลล์ MCF-7, เซลล์ HuCCA-1 และเซลล์ HT1080) และเซลล์เม็ดเลือดขาว (granulocytes (CD11b), monocytes (CD14) และ lymphocytes (CD4:CD8 และCD3:CD19)) ถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่อง BD FACSCanto flow cytometer ตามระยะเวลา 0, 15, 30 นาที; 1, 2, 3, 5 ชั่วโมง; 1, 2, 3, 4, 5 และ 7 วัน ผลการ วิเคราะห์โดยพิจารณาจากค่า mean differences ที่ 3% ซึ่งแสดงถงึความคงตวัของสารเรืองแสงท่ยีอมรับได้พบว่าใน เซลล์เนื้อเยื่อสัตว์มีค่า mean differences ของจำนวนเซลล์และปริมาณความเข้มแสงมากกว่า 3% ต้ั้งแต่วันที่ 3 เป็น ต้นไป ในขณะที่เซลล์เมด็เลือดขาวมีค่า mean differences ของจำนวนเซลล์มากกว่า 3% ต้ั้งแต่วันที่ 5 เป็นต้นไป แต่ค่า mean differences ของปริมาณความเข้มแสงไม่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ข้อมูลดังกล่าวบ่งชี้ถึงระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการส่งตัวอย่างเซลล์เนื้อเยื่อสัตว์ และเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อการวิเคราะห์ในงานวิจัยของผู้รับบริการไม่ควรเกิน 3 วัน และ 5 วันตามลำดับ จากข้อมูลเบื้องต้นยังสามารถใช้ในการจัดตารางเวลาในการเข้ารับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Published

2024-04-01