การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
Keywords:
โปรแกรม, แบบประเมินผล, ความพึงพอใจAbstract
การศึกษาโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ ของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบรัว มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงานภายในสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จำนวน 15 คน ซึ่งโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ เป็นโปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเอง โดยโปรแกรมดังกล่าวจะประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) กิจกรรมแบบประเมิน สร้างได้ไม่ยาก และ 3) กิจกรรมการวิเคราะห์และแปลผลแบบประเมินความพึงพอใจด้วยการใช้โปรแกรมทางสถิติ ใช้เวลาในการดำเนินโปรแกรมทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง 30 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินก่อนและหลังเข้ารับโปรแกรมฝึกอบรม และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และ The wilcoxon matched pairs signed-ranks test ผลการวิจัย พบว่า หลังจากกลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมโปรแกรมการพัฒนาทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับทักษะการสร้างแบบประเมินผลความพึงพอใจก่อนและหลัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล