การศึกษาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินในคนที่มีการได้ยินปกติ โดยใช้สัญญาณเสียง Pure Tone กับเสียง Warble Tone

Authors

  • โสภณวิชญ์ คงศิริสวัสดิ์ นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (สาขาแก้ไขการได้ยิน) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย โรงพยาบาลรามาธิบดี Author
  • รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (สาขาแก้ไขการได้ยิน) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย โรงพยาบาลรามาธิบดี Author
  • อนันต์ ศักดิ์ศรีสุวรรณ นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (สาขาแก้ไขการได้ยิน) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย โรงพยาบาลรามาธิบดี Author
  • สุนิสา พัฒนวณิชย์กุล นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (สาขาแก้ไขการได้ยิน) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย โรงพยาบาลรามาธิบดี Author
  • สิริวิมล สุนทรวิภาต นักแก้ไขความผิดปกติของการสื่อความหมาย (สาขาแก้ไขการได้ยิน) ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย โรงพยาบาลรามาธิบดี Author

Keywords:

เสียงบริสุทธิ, เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ในระยะเวลาหนึ่ง, ค่าระดับเริ่มได้ยิน

Abstract

เสียงบริสุทธิ์ (Pure Tone) เป็นเสียงมาตรฐานที่ใช้ในการตรวจการได้ยินเพื่อวินิจฉัยชนิดและระดับของการสูญเสียการได้ยิน ปัจจุบันเครื่องตรวจการได้ยินมีเสียงต่าง ๆ ให้เลือกเพื่อใช้ในการตรวจ เช่น เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ตามเวลา (Warble Tone) เสียงที่มีการเปลี่ยนแปลงความดังเป็นจังหวะ (Pulsed Tone) สัญญาณเสียงดังกล่าวจะช่วยให้ผู้ป่วยฟังเสียงตรวจได้ง่ายมากขึ้นโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีเสียงดังในหู ถึงแม้ว่ามีหลายการศึกษาที่ผ่านมาเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินโดยใช้เสียง Pure Tone กับ Warble Tone ผลที่ได้ก็ยังไม่สอดคล้องกัน การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าระดับเริ่มได้ยินเมื่อตรวจโดยใช้เสียงทั้งสอง และกำหนดว่าสามารถใช้ทดแทนกันได้หรือไม่ในคนไทย โดยทำการศึกษาในคนที่มีการได้ยินปกติจำนวน 31 หู อายุ 18-28 ปี ตรวจการได้ยินผ่านการนำเสียงทางอากาศที่ความถี่ 250-8000 Hz วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Bland-Altman plot พบว่าที่ความถี่ 250, 500, 2000, 4000 และ 8000 Hz มีค่าความแตกต่างของระดับเริ่มได้ยินจากเสียงทั้งสองชนิดทั้งหมดอยู่ในช่วง limits of agreement ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เมื่อทดสอบด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test มีเพียงความถี่ 3000 Hz มีค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยิน 1.29 dB อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไร   ก็ตามค่าความต่างของระดับเริ่มได้ยินที่ได้ มีค่าไม่เกิน 5 dB สามารถนำไปใช้ทางคลินิกได้ ภายใต้เงื่อนไขการปรับความดังเพิ่มครั้งละ 5 dB และเสียง Warble Tone มีค่า Frequency-Modulated ที่อัตราความถี่ 5 Hz และมีค่าเบี่ยงเบนอยู่ที่ ±5% จากความถี่กลาง สรุปผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า สามารถใช้เสียง Warble Tone แทนเสียง Pure Tone ในการปฏิบัติงานในคลินิกได้

Downloads

Published

2024-03-01