การพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนกลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เพื่อการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Authors

  • กัญญา วังศรี แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author
  • รานี แสงจันทร์นวล แผนกการพยาบาลเวชปฎิบัติครอบครัว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author
  • มรกต สุบิน สำนักงานรักษาความปลอดภัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author
  • พนอ เตชะอธิก แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author
  • กรกฎ อภิรัตน์วรากุล ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น Author

Keywords:

อาสาฉุกเฉินชุมชน, เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย, การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) โดยใช้วงจรต่อเนื่องกัน 4 ขั้นตอน  คือ (1) การวางแผน (Plan : P) จัดประชุมร่วมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย  ค้นหาปัญหาและแก้ไขในการให้บริการผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งพบปัญหา การบริการล่าช้า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยขาดทักษะและความมั่นใจในการช่วยเหลือผู้ป่วย (2) การปฏิบัติ (Act : A) จัดทำแผนที่ถนนและแนวทางการแจ้งเหตุไปใช้จริง และพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชนให้กลุ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย (3) การสังเกตผล (Observe : O)  นำข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการมาวิเคราะห์และ (4) การสะท้อนผล (Reflect : R) นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน  20 คน จากหน่วยปฐมภูมิ จำนวน 10 คน และกลุ่มกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชนจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน  50 คน นักศึกษา  จำนวน 20 คน รวมจำนวน 100 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการศึกษา พบว่า หลังการพัฒนาอาสาฉุกเฉินชุมชน เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีความรู้สูงขึ้น แต่คะแนนทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรม พบว่าไม่มีความแตกต่างกันไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนหลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมเล็กน้อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมีการอบรมฟื้นฟูทุกปี  ส่วนความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดรูปแบบการดูแลผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พบว่า กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์เห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}=4.59, S.D.=0.45) ส่วนกลุ่มอาสาฉุกเฉินชุมชน เห็นด้วยระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=4.03, S.D.=0.53) โดยหลังจากจัดรูปแบบผ่านไป 4 เดือน พบว่า เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย สามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้เพิ่มขึ้น มีการแจ้งขอความช่วยเหลือทางวิทยุสื่อสาร ร้อยละ 100, เข้าถึงจุดเกิดเหตุรวดเร็วภายใน 5 นาที ร้อยละ 100  ผู้ป่วยได้รับการดูแลช่วยเหลือเบื้องต้นที่จำเป็น เช่น การจัดท่าเปิดทางเดินหายใจ การห้ามเลือด และการดามปฏิบัติได้ ร้อยละ 100  ผลการพัฒนาทำให้มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยร่วมปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจร ณ จุดเกิดเหตุ ซึ่งนำไปสู่พัฒนางานด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพ ต่อเนื่องและยั่งยืน

Downloads

Published

2024-04-01