การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉินในวิชาสุขศึกษา สำหรับนักเรียนในเขตพื้นที่บนภูเขา
Keywords:
การเรียนรู้, การแพทย์ฉุกเฉิน, การวิจัยเชิงปฏิบัติการ, รูปแบบการสอน (ชุดการเรียนรู้/สื่อประสม), พื้นที่บนภูเขาAbstract
การรู้จักการแพทย์ฉุกเฉินเบื้องต้นของเด็กและเยาวชน จะส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงบริการการแพทย์ฉุกเฉินของผู้ป่วยฉุกเฉินมากขึ้น การศึกษาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อประสมการเรียนรู้ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนห้วยไร่สามัคคี จำนวน 30 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 – สิงหาคม 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเชิงพรรณา และเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้วยสถิติ T- Test และการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าประสิทธิภาพชุดการเรียนรู้ โดยใช้สูตร E1/E2 การหาค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชุดการเรียนรู้ การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการพัฒนาสื่อประสมการเรียนรู้ ประกอบไปด้วยเนื้อหาด้าน 1) ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 2) การปฐมพยาบาลเบื้องต้น 3) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และ 4) EMS Rally ปรากฎอยู่ในเว็บไซด์ www.ems-school9.com นำสื่อประสมไปจัดการเรียนรู้ 20 ชั่วโมงทั้งในห้องเรียน ให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองผ่านสื่อออนไลน์ และการปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรม EMS rally การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า นักเรียนเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ในทุกประเด็น โดนเฉพาะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น คะแนนหลังเรียน (µ = 8.73) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.67 สูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนเรียน (µ = 5.67) คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 52.08 เพิ่มขึ้นเท่ากับ 35.59 ทุกกลุ่มมีคะแนนจากการทดสอบในกิจกรรม EMS Rally 5 ฐานในระดับมาก จากการสอบถามความคิดเห็นนักเรียน พบว่า นักเรียนพึงพอใจต่อกระบวนการเรียนรู้ในระดับมากที่สุด สิ่งสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าว ทำให้เกิดความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้งหน่วยงานด้านการศึกษา การแพทย์ฉุกเฉิน รวมทั้งหน่วยงานท้องถิ่น เช่น โรงพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล สาธารณสุขอำเภอ ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ ศึกษานิเทศก์ องค์การบริหารส่วนตำบล กู้ชีพมูลนิธิ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ดังนั้นหน่วยงานเหล่านี้ควรร่วมผลักดันให้เกิดการต่อยอดและขยายผลต่อไป
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล