ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Keywords:
การแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์, ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานAbstract
ปัจจุบันการเพิ่มโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นและหรือหยุดหายใจเฉียบพลันนอกโรงพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายกลุ่มที่ได้และไม่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) ใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบ่งกลุ่มศึกษาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) จำนวน 30 คนและกลุ่มที่ไม่ได้รับ จำนวน 30 คน เลือกตัวอย่างแบบการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากจนครบจำนวน คัดเลือกให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มมีคุณสมบัติพื้นฐานใกล้เคียงกัน โปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ ประกอบด้วย 1) การชมวีดีทัศน์การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 2) การรับฟังบรรยายและสาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน 3) การฝึกปฏิบัติการแจ้งเหตุ 1669 และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน และ4) การทดสอบการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลประสิทธิผลการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานด้วยแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ และทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการทดลองในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม โดยการเปรียบเทียบค่าที (t-test) ผลการศึกษาพบว่านักเรียนทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะทั่วไปไม่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.0 มีอายุเฉลี่ย 17 ปี คิดเป็นร้อยละ 93 มีประสบการณ์เรียนทฤษฎีการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ภายหลังเข้าโปรแกรมฯความรู้และทัศนคติเรื่องการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานของทั้ง 2 กลุ่มมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001, .001 ในกลุ่ม T-CPR และ < .001 , .025 ในกลุ่ม CPR และกลุ่มที่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (T-CPR) มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ (CPR) ทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001, .016 และ < .001 ดังนั้นโรงเรียนทั่วประเทศควรนำไปประยุกต์สอนกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแก่นักเรียนเพื่อเป็นมาตรฐานเดียวกัน
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล