การศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Authors

  • พรพิมล แก้วฟุ้งรังษี สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ Author

Keywords:

อีเลิร์นนิง, ทฤษฎีรวมการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี, การยอมรับเทคโนโลยี

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยใช้ทฤษฎีรวมของการยอมรับและการใช้เทคโนโลยี (UTAUT) จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบโควตานักศึกษา จำนวน 700 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และใช้วิธีของครอนบาคคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาสำหรับวิเคราะห์คุณภาพความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ก่อนการนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระดับนัยสำคัญ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการวิจัยกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงประโยชน์  ปัจจัยด้านความบันเทิงในการใช้งาน ปัจจัยด้านการเอาใจใส่ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางเทคนิค และปัจจัยด้านความคาดหวังในความพยายาม สำหรับปัจจัยด้านแรงจูงใจนั้นไม่มีอิทธิพลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษา เนื่องจากอาจารย์เป็นผู้กำหนดให้นักศึกษาเข้าใช้งานระบบอีเลิร์นนิง นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการยอมรับระบบอีเลิร์นนิงของนักศึกษาที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.01 คือ ระดับชั้นปี

Downloads

Published

2024-04-01