การพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทย อายุแรกเกิด- 48 เดือน
Keywords:
การพัฒนาแบบคัดกรอง, พัฒนาการอารมณ์สังคม, เด็กไทยAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Cross-Sectional Descriptive Studies) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบคัดกรองพัฒนาการอารมณ์-สังคมของเด็กไทยอายุแรกเกิด - 48 เดือน และตรวจสอบคุณสมบัติในการวัด โดยพัฒนาตามกรอบแนวคิดของพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม (Functional Emotional Development) แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือระยะที่ 1 การพัฒนาข้อคำถามและการตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น ข้อคำถามที่ร่างขึ้นผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 6 คน พบว่าค่า IOC ส่วนใหญ่มีค่า ³ 0.5 แล้วตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายใน พบว่าในช่วงอายุ 6-9 เดือน มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์ จึงทำการปรับข้อคำถามเพิ่มเติม ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณสมบัติในการวัดของแบบคัดกรองฯ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ปกครองของเด็กปกติจำนวน 223 คน ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในมีค่า Cronbach’s alpha อยู่ระหว่าง 0.604-0.904 และความสัมพันธ์ของคะแนนรายข้อคำถามกับคะแนนรวม (CITC) ส่วนใหญ่มีค่ามากกว่า 0.2 ขึ้นไป และความเที่ยงตรงเชิงจำแนกระหว่างคะแนนที่ได้จากกลุ่มเด็กพัฒนาการปกติกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคม จำนวน 28 คน พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (Z = -4.483, p-value < .001) และค่าคะแนนเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) จากแบบวัดแบ่งตามช่วงอายุ 0-5, 6-9, 10-18, 19-30 และ 31-48 เดือน มีค่าเท่ากับ 20.11(3.09), 48.96(5.96), 84.88(9.90), 103.32(16.61) และ 139.81(18.28) ตามลำดับ ผลสรุป แบบคัดกรองที่พัฒนาขึ้นมีคุณสมบัติในการวัดที่เหมาะสม มีความเชื่อมั่นดี สามารถใช้ในการแยกแยะเด็กที่มีพัฒนาการปกติและเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการอารมณ์สังคมได้ โดยผู้ใช้ควรต้องมีความรู้ ความเข้าใจพัฒนาการอารมณ์สังคมร่วมด้วย
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล