แนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน: กรณีการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • จิณณภักดิ์ ศรีศิลารักษ์ นักวิชาการพัสดุ ฝ่ายทรัพย์สินและพัสดุ สำนักงานคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล Author

Keywords:

ผลประโยชน์ทับซ้อน, การจัดซื้อจัดจ้าง, แนวทางการป้องกัน

Abstract

ปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในการจัดซื้อจัดจ้างถือเป็นการคอร์รัปชันประเภทหนึ่ง เนื่องจากเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนบุคคลโดยการละเมิดกฎหมายและจริยธรรม การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง ละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์ โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบที่เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้าง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งอาจเป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับ ในการใช้ตำแหน่งหน้าที่แทรกแซงในกระบวนการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ขาดความเป็นกลาง ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและพวกพ้องมากกว่าประโยชน์ของหน่วยงาน ปัจจัยที่อาจทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน หรือความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมอันถือเป็นการกระทำทุจริตคอร์รัปชั่น แนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ และประกาศที่เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล 2) ศึกษาแนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) ให้ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลรับรู้ มีจิตสำนึกในหน้าที่ที่จะปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมของคณะฯ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน และหลีกเลี่ยงลักษณะของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของหน่วยงาน อันเป็นการป้องกันการทุจริต และดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริต และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และองค์กรอย่างแท้จริง สรุปผลสำคัญคือ 1) นำแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อนการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล มาปฏิบัติให้สอดคล้องกัน 2) หน่วยงานอื่นสามารถนำแนวทางการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนในการจัดซื้อจัดจ้างของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลไปประยุกต์ใช้ 3) ผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภายในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลรับรู้ มีจิตสำนึกในหน้าที่ที่จะปกป้องผลประโยชน์ส่วนรวมของคณะฯ มากกว่าประโยชน์ส่วนตน และหลีกเลี่ยงลักษณะของความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตัวและผลประโยชน์ของหน่วยงาน อันเป็นการป้องกันการทุจริต และดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริต และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน และองค์กรอย่างแท้จริง

Downloads

Published

2024-04-01