รูปแบบการจัดการความรู้ที่ส่งเสริม คุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลง: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยอง

Authors

  • วรวุฒิ เพ็งพันธ์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Author
  • ศนิสา ใจเจริญ นิสิตหลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Author
  • สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Author
  • ปริญญา ทองสอน ภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา Author

Keywords:

การจัดการความรู้, คุณค่าของมรดกทางธรรมชาติ, การเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง, อุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยอง

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของมรดกทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของอุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยอง 2) เพื่อศึกษาคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยอง และ 3) เพื่อเสนอแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยได้แก่ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยอง จำนวน 19 คน ใช้การวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาของมรดกทางธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงของอุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยองแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ก) ปัญหาที่เกิดจากมนุษย์ได้แก่การทำลายสิ่งแวดล้อม การบุกรุกพื้นที่ป่า การท่องเที่ยว และ ข) ปัญหาที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ได้แก่ สัตว์ป่า น้ำป่า ไฟป่า  ลม และปัญหาทางทะเล พบว่าปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในตนเอง และการเกิดจิตสำนึกต่อส่วนรวม  2) คุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติในจังหวัดระยองพบว่า คุณค่าของมรดกทางธรรมชาติทำให้เกิดการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงทั้งหมด 8 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านปัญญา ด้านลักษณะนิสัย ด้านศาสนา ด้านเศรษฐกิจ และด้านสุนทรียศาสตร์ 3) ผลการประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนพบว่า แผนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 8 แผนได้รับการออกแบบในการวิจัยครั้งนี้มีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก (ค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ .08) สามารถนำไปเพื่อการจัดการความรู้เรื่องคุณค่าของมรดกทางธรรมชาติเพื่อการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง

Downloads

Published

2024-04-01