พฤติกรรมการออกกำลังกายและความต้องการของลูกค้าที่มารับบริการของ ศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
Keywords:
พฤติกรรมการออกกำลังกาย, ศูนย์ออกกำลังกาย, การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), ฐานวิถีชีวิตใหม่Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (2) ความต้องการของลูกค้าในการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประกอบด้วยมาตรการด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านการติดตามและคัดกรองความเสี่ยง มาตรการด้านการป้องกันตนเองและมาตรการด้านการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล (3) ความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และ (4) ความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ประชากรที่ศึกษาคือลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกำลังกาย วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล ระหว่างเดือน สิงหาคม-กันยายน 2563 จำนวน 81 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ อัตราส่วนร้อยละ (%)ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการออกกำลังกายของลูกค้าที่มารับบริการของศูนย์ออกกำลังกายก่อนและหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ไม่แตกต่างกัน ในด้านความต้องการของลูกค้าในการให้บริการศูนย์ออกกำลังกายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.86) เมื่อจำแนกตามรายด้านพบว่ามีความต้องการด้านมาตรการติดตามและคัดกรองความเสี่ยงมากที่สุด ( =3.98) ในส่วนของความร่วมมือของลูกค้าต่อมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.21) และความคิดเห็นของลูกค้าต่อการให้บริการของศูนย์ออกกำลังกายตามรูปแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบว่าอยู่ในระดับมาก ( = 4.00)
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล