ปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • กาญจนา เหล่ารอด ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • สกาวทิพย์ สหทรัพย์เจริญ ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author

Keywords:

ปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์ของการเรียน, หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา, หลักสูตรหลังปริญญา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญา ปีการศึกษา 2562 จำนวนทั้งสิ้น 62 คน ตัวอย่างขนาด 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 และผ่านการทดลองใช้กับนักศึกษาทันตแพทยศาสตร์ชั้นปี 6 จำนวน 10 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยได้ค่าความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (T-test) การทดสอบเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก โดยด้านหลักสูตร ด้านอาจารย์ และด้านการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านการสำเร็จของนักศึกษา และด้านสื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอนมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศมีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p<0.05) ส่วนอายุ สาขาที่ศึกษาต่อ หลักสูตรที่ศึกษาต่อ สังกัดในการทำงานปัจจุบัน และประสบการณ์ในการทำงาน มีต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและหลักสูตรหลังปริญญาไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 (p>0.05)

Downloads

Published

2024-03-05