ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Authors

  • ศิริลักษณ์ ชนะพันชัย ภาควิชาทันตกรรมหัตถการและวิทยาเอ็นโดดอนต์ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • เฉิดฉวี กิตติกุลพันธ์ ภาควิชาวิทยาระบบบดเคี้ยว คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • พรรัตน์ บุญเพ็ชร ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • กมลทิพย์ จิตรอำพัน ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Author

Keywords:

ความสมดุลของชีวิตการทำงาน, บุคลากร, การบูรณาการทางสังคม, เงินเดือน, สวัสดิการ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นและเปรียบเทียบความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวนทั้งสิ้น 69 คน โดยกำหนดตัวอย่างขนาด 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 ความเชื่อถือของแบบสอบถามได้เท่ากับ 0.928 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบของ Mann-Whitney U test และการทดสอบของ Kruskal–Wallis test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน (= 3.94, S.D. = 0.60) รองลงมา คือ ด้านลักษณะของงาน (= 3.85, S.D. = 0.49) ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า (= 3.70, S.D. = 0.63) และด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน (= 3.51, S.D. = 0.58) ตามลำดับ ส่วนด้านเงินเดือน/สวัสดิการ อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.25, S.D. = 0.67) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ความสมดุลของชีวิตการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนสังกัดภาควิชา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และสังกัดในการทำงานปัจจุบัน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านลักษณะของงาน ด้านเงินเดือน/สวัสดิการ ด้านโอกาสในการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า ด้านการบูรณาการทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านความสมดุลของชีวิตการทำงาน และภาพรวมไม่แตกต่างกัน  ส่วนบุคลากรที่มีรายได้ต่อเดือน และประเภทของบุคลากร แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อความสมดุลของชีวิตการทำงานในด้านเงินเดือน/สวัสดิการ และด้านโอกาสการพัฒนาศักยภาพเพื่อความก้าวหน้า แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Downloads

Published

2024-03-05