การคัดเลือกและจัดตั้งโคโลนีหนูแรท Mlac:WR ที่มีอุบัติการณ์ไตบวมน้ำต่ำ ที่ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย

Authors

  • พรรัตนา ช่อมณี งานผลิตสัตว์ทดลอง ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • อภิสิทธิ์ เหล่าสันติสุข งานผลิตสัตว์ทดลอง ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • ประเวศ ทองศิริ งานบริการวิชาการ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • วัลลภ ลิขิตสุนทรวงศ์ งานการสัตวแพทย์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • พนิดา บุตรรัตน์ งานการสัตวแพทย์ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author
  • ธนพร พิณพาทย์ งานผลิตสัตว์ทดลอง ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล Author

Keywords:

หนูแรทสายพันธุ์ Wistar, Mlac:WR, ไตบวมน้ำ, การคัดเลือก, ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งโคโลนีหนูแรท Mlac:WR ที่มีอุบัติการณ์ไตบวมน้ำต่ำที่ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย พ่อแม่พันธุ์หนูแรท Mlac:WR จำนวน 20 คู่ในโคโลนีตั้งต้นของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติถูกสุ่มขึ้นมาเพื่อใช้ในการตรวจหาเปอร์เซ็นต์การเกิดอุบัติการณ์ไตบวมน้ำ พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การเกิดไตบวมน้ำอยู่ที่ 9.66% ของประชากร การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เพื่อดำเนินการสืบสายพันธุ์นั้นใช้การคัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกจากลักษณะของรุ่นลูก ร่วมกับหลักการสืบสายพันธุ์หลีกเลี่ยงการเกิดเลือดชิดมากที่สุด และระบบการผสมพันธุ์แบบหมุนวน คู่พ่อแม่พันธุ์ที่ให้ลูกที่มีลักษณะไตบวมน้ำถูกคัดออกจากโคโลนี และถูกทดแทนด้วยลูกที่มาจากคู่พ่อแม่พันธุ์อื่นที่มีสุขภาพดีในกลุ่มเดียวกันในรุ่นถัดไป ผลจากการคัดเลือกและสืบสายพันธุ์พบว่า อุบัติการณ์ไตบวมน้ำ มีค่า 7.5% ในรุ่นที่ 0 ลดลงเหลือ 1.07%-1.72% ในรุ่นที่ 2-4 และลดลงเป็น 0.00% ในรุ่นที่ 5 อย่างไรก็ตาม ได้พบอุบัติการณ์ไตบวมน้ำ มีค่า 0.49% ในรุ่นที่ 6-7 ลดลงเป็น 0.00% ในรุ่นที่ 8 และพบว่า มีค่า 0.42%-1.02% ในรุ่นที่ 9-10 ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะไตบวมน้ำเป็นลักษณะที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมและถูกควบคุมด้วยยีนหลายยีน ดังนั้นจึงไม่สามารถกำจัดออกจากโคโลนีได้อย่างสมบูรณ์

Downloads

Published

2024-03-05