การศึกษาการออกแบบภูมิทัศน์ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ในประเทศไทย
Keywords:
รูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์, ชีวิตวิถีใหม่, สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกแบบภูมิทัศน์ 2) เพื่อเสนอแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ในชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส-2019 ในประเทศไทย โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย ของสำนักงานออกแบบ และกลุ่มนักออกแบบภูมิทัศน์อิสระ และจากข้อมูลออนไลน์ ในสมุดหน้าเหลือง (สำนักงานออกแบบภูมิทัศน์/ออกแบบสวน) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยแบบสอบถามออนไลน์และทางไปรษณีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป (SPSS) ใช้การอธิบายคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการออกแบบภูมิทัศน์ มากที่สุดคือปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ร้อยละ 67.00 การออกแบบภูมิทัศน์มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิม ร้อยละ 54.00 และการประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมภูมิทัศน์ได้รับผลกระทบบ้าง ร้อยละ 70.00 อย่างไรก็ตาม ยังมีกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ร้อยละ 19.00 สำหรับแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ พบว่าการออกแบบมีเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ต้องคำนึงถึงที่ว่าง(Space) ในการสร้างบรรยากาศให้เกิดความโปร่ง โล่ง สบาย อากาศถ่ายเทได้ดี การออกแบบกิจกรรมและสิ่งอำนวยความสะดวกควรมีการเว้นระยะปลอดภัยของบุคคลอย่างน้อย 6 ฟุตหรือ 2 เมตร แนวคิดในการออกแบบควรต้องเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้พืชสมุนไพร, พืชที่ทนต่อสภาพแวดล้อม และดูแลรักษาง่าย
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล