ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Keywords:
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง, ประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง, การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ, การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณAbstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และศึกษาผลกระทบของกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่มีต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านการจัดหาพัสดุ และด้านการบริหารพัสดุ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างโดยรวม (r = 0.738, 0.697, 0.709 ตามลำดับ) และปัจจัยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ส่งผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างโดยรวม ได้แก่ ด้านการวางแผนการจัดซื้อจัดจ้าง (B = 0.354, p < 0.0001) ด้านการจัดหาพัสดุ (B = 0.256, p = 0.009) และด้านการบริหารพัสดุ (B = 0.285, p = 0.003) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล