การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการจัดซื้อและการใช้หนังสือของห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Keywords:
การจัดซื้อหนังสือ, ความถี่ในการใช้หนังสือ, อัตราการใช้หนังสือต่อเล่มAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลจำนวนหนังสือที่จัดซื้อระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 และความถี่ในการใช้หนังสือ กับอัตราการใช้หนังสือต่อเล่มของห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลการจัดซื้อหนังสือจากสมุดลงทะเบียนหนังสือ รวมทั้งศึกษาความถี่ในการใช้หนังสือ โดยสำรวจข้อมูลสถิติการยืมจากระบบห้องสมุดอัตโนมัติ INNOPAC Millennium และสำรวจสถิติการยืมในบัตรกำหนดส่งในเล่มหนังสือบนชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดซื้อและความถี่ในการใช้หนังสือ วิเคราะห์ข้อมูลวิจัยทางสถิติโดยการหาค่าร้อยละ และอัตราการใช้หนังสือต่อเล่ม ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 – กันยายน 2556 ห้องสมุดจัดซื้อหนังสือภาษาไทยมากกว่าหนังสือภาษา ต่างประเทศจำนวน 1,032 เล่ม หรือคิดเป็นร้อยละ 56.46 หนังสือภาษาไทยมีอัตราการใช้ต่อเล่มใกล้เคียงกับหนังสือภาษาต่างประเทศ คือ หนังสือภาษาไทยมีอัตราการใช้ 8.42 ครั้งต่อเล่ม และหนังสือภาษาต่าง ประเทศมีอัตราการใช้ 7.78 ครั้งต่อเล่ม ห้องสมุดจัดซื้อหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวนมากที่สุด แต่หนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความถี่ในการใช้มากที่สุดคือหนังสือในสาขาวิชาการพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะโรคต่าง ๆ การวิจัยนี้พบว่า หนังสือที่มีอัตราการใช้ต่อเล่มสูง ส่วนใหญ่ไม่ใช่หนังสือที่มีการจัดซื้อจำนวนมาก เช่น หนังสือภาษาไทยหมวด WY150 เทคนิคการพยาบาลผู้ป่วยเฉพาะโรค มีอัตราการใช้จำนวนสูงสุด 33 ครั้งต่อเล่ม แต่มีจำนวนการจัดซื้อเพียง 19 เล่ม งานวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า ห้องสมุดควรมีการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมให้ผู้รับบริการเพิ่มการใช้หนังสือภาษาต่างประเทศให้มากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพบว่า หนังสือตำราในหัวข้อที่สนใจมีการตีพิมพ์เป็นภาษาไทยจำนวนน้อย ก็ควรจะใช้ตำราต่างประเทศซึ่งมีเนื้อหาความรู้ที่ผู้ใช้บริการต้องการเช่นเดียวกัน และเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า คุ้มทุนในการจัดซื้อหนังสือของห้องสมุด
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล