การเปรียบเทียบสมรรถภาพการสืบสายพันธุ์หนูเม้าส์เลือดชิด 3 สายพันธุ์ (BALB/cMlac, C57BL/6Mlac และ DBA/2Mlac) ของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย
Keywords:
หนูเม้าส์, สายพันธุ์ชิด, สมรรถภาพการสืบสายพันธุ์, ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติAbstract
สมรรถภาพการสืบสายพันธุ์อันประกอบด้วย ขนาดครอกโดยเฉลี่ย (mean litter size) อัตราส่วนการหย่านมต่อจำนวนลูกที่เกิด (wean: born ratio) และค่าดัชนีการสืบสายพันธุ์โดยเฉลี่ย (mean reproductive index) ของหนูเม้าส์เลือดชิดของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลจำนวน 3 สายพันธุ์ ได้แก่ BALB/cMlac C57BL/6Mlac และ DBA/2Mlac ได้ถูกคำนวณออกมาเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวกับการผสมและดูแลโคโลนีสืบสายพันธุ์ โดยหนูเม้าส์เลือดชิดทั้ง 3 สายพันธุ์นี้จัดอยู่ในสถานะสัตว์ปลอดเชื้อจำเพาะ (SPF) และได้รับการเพาะเลี้ยงอยู่ภายใต้ระบบการเลี้ยงแบบ Maximum barrier ที่ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล การศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมข้อมูลการสืบสายพันธุ์ของหนูเม้าส์เลือดชิดแต่ละสายพันธุ์ จำนวน 20 รุ่นการสืบสายพันธุ์ นำมาคำนวณและวิเคราะห์เปรียบเทียบผลทางสถิติด้วย t-test และ non-parametric test จากผลการคำนวณพบว่าขนาดครอก (แรกเกิด)โดยเฉลี่ยของหนู BALB/cMlac C57BL/6Mlac และ DBA/2Mlac เป็น 4.6±1 6.2±1.4 และ 4.3±1.0 ตามลำดับ และอัตราส่วนการหย่านมต่อจำนวนลูกที่เกิดโดยเฉลี่ยเป็น 0.90±0.1, 0.81±0.2 และ 0.83±0.2 ตามลำดับเช่นกัน นอกจากนั้นค่าดัชนีการสืบสายพันธุ์โดยเฉลี่ยของทั้ง 3 สายพันธุ์เป็น 1.03 0.94 และ 0.71 จากผลการเปรียบเทียบหนูเม้าส์เลือดชิดทั้ง 3 สายพันธุ์ได้บ่งชี้ว่าค่าสมรรถภาพการสืบสายพันธุ์ของหนู BALB/cMlac นั้นดีกว่าหนู C57BL/6Mlac และ DBA/2Mlac
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล