เจตคติ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาและบุคลากร คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Keywords:
เจตคติ, ความพึงพอใจ, การใช้ประโยชน์, สื่อสังคมออนไลน์Abstract
งานวิจัยเจตคติ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาและบุคลากรคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างทำด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐานได้แก่ T-test ที่ระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 95%
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะทางประชากรศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีเจตคติต่อสื่อสังคมออนไลน์ในเชิงบวกและลบเท่า ๆ กัน ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญมาก กับ ความทันสมัย สะดวกรวดเร็วของข้อมูล การได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ ในขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่แน่ใจในความปลอดภัยในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ มีความกังวลในการกลั่นแกล้งกันผ่านสังคมออนไลน์ และไม่แน่ใจว่าเวลาที่ใช้ไปกับสื่อสังคมออนไลน์สูญเสียไปอย่างไร้ประโยชน์หรือไม่ ด้านความพึงพอใจพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการได้พูดคุยสนทนาผ่านสื่อสังคมออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือพอใจในความรวดเร็วและใช้งานง่ายตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจน้อยที่สุดในเรื่องของความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากสื่อสังคมออนไลน์ ด้านการใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่มีการใช้ประโยชน์ในด้านวิชาการเช่นค้นหาข้อมูลข่าวสารมากที่สุด รองลงมาคือใช้ประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารกับบุคคลที่ต้องการ และมีการใช้งานด้านการพักผ่อนหย่อนใจด้วยการเล่นเกมส์น้อยที่สุด
จากการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักศึกษาและกลุ่มเจ้าหน้าที่มีค่าเฉลี่ยของเจตคติ ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์แตกต่างกัน
Downloads
Published
Issue
Section
License
บทความทุกบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (JPR2R) ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล